รายละเอียด
ตำราหมากรุกไทย ที่มีอยู่ในหอสมุดแห่งชาติ ที่เป็นหนังสือเก่า (เกิน 50 ปีขึ้นไปโดยประมาณ) มีอยู่จำนวนหนึ่ง ในห้องหนังสือหายาก (เป็นชื่อเรียกอย่างไม่เป็นทางการแต่เข้าใจได้ง่ายเพราะสื่อได้ตรง) ในส่วนที่เป็นตำราหมากกล ก็มีหลายเล่ม แต่ที่กล่าวถึงมากที่สุด คงเป็น กลหมากรุกฉบับหอสมุดแห่งชาติ หรือชื่อเป็นทางการว่า "ตำราหมากรุก ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๕ " นับได้ว่าเป็นตำราหมากรุกไทยเล่มแรกที่มีการพิมพ์เผยแพร่ โดยเป็นการรวบรวมมาจากตำรากลหมากรุกต่างๆ ที่มีอยู่ในหอพระสมุดฯ อยู่แล้วส่วนหนึ่ง กับที่มีอยู่ภายนอกอีกส่วนหนึ่ง โดยผู้รวบรวมและชำระกล (หรือกุญแจกล) คือ ขุนประสาสน์ศุภกิจ (มหาแถม) มีทั้งสิ้น 321 กล แยกเป็น 3 หมวด คือ กลทั่วไป กลต่อเสมอเป็นแพ้ และกลแผลง หมวดแรก คงจะคุ้นเคยและเข้าใจไม่ยาก แต่สองหมวดหลัง ต้องเป็นผู้ที่มีความเข้าใจในกีฬานี้มากพอสมควรจึงจะเข้าใจโดยตลอด หากต้องการอ่านตำราเล่มนี้ (หรือกระทั่งเล่มอื่นๆ) ก็ไปที่หอสมุดแห่งชาติ ติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อใช้บริการส่วนนี้ ก็จะมีความยุ่งยากเพิ่มมากขึ้นกว่าการไปค้นหนังสือทั่วไปเล็กน้อย เช่น ต้องทำเรื่อง และต้องให้เจ้าหน้าที่เป็นผู้หยิบให้อย่างจำกัดจำนวน เป็นต้น กลหมากรุกฉบับนี้ ได้ถูกขึ้นนำแสดงบนอินเตอร์เน็ตแล้ว 280 กล (จากทั้งสิ้น 321กล) ตัวผู้จัดทำก็ถูกความเกียจคร้านเข้าครอบงำ ทั้งๆ ที่อีกเพียงไม่กี่กลก็จะครบทั้งหมด ....น่าประนามหยามเหยียดเสียจริงๆ กลจำนวนหนึ่งจากตำราเล่มนี้ ได้ถูกนำมาแสดงไว้ใน นิยายหมากรุกไทย เรื่อง "ขุนทองคำ" (คลิ๊ก)
ความคิดเห็นที่ : 1
ขอบคุณครับ พอจะบอกชื่อเวบที่นำมาแสดงได้ไหมครับ
ความคิดเห็นที่ : 2
ขอบคุณท่านmind_groupที่ช่วยให้ความกระจ่างในเรื่องกลหมากรุกฉบับหอสมุด เพื่อเป็นความรู้ให้กับผู้สนใจ
ความคิดเห็นที่ : 3
จะรอชมนะครับ
ความคิดเห็นที่ : 4
ครับผม แล้วคนที่เปลี่ยนชื่อกลไปเรื่อยเนี่ยเขาคิดยังไงถึงได้ทำไปได้
ความคิดเห็นที่ : 5
ว่ากันต่อ ข้อบกพร่อง 1. กลซ้ำมากเกินไป โดยอาจเป็นเพียงการย้ายตำแหน่ง ไปด้านใดด้านหนึ่งเท่ากันทุกตัว หรือกลับด้านเหมือนเงาในกระจกเงา ลักษณะเช่นนี้ ทำให้มีจำนวนกลที่ซ้ำมากหลายสิบเกมโดยไม่ได้ประโยชน์เพิ่มเติมเลย 2. ชื่อกลซ้ำกัน มีไม่มากนัก แต่ก็ทำให้สับสนเมื่อเอ่ยชื่อกลว่าเป็นใดกันแน่ แม้ลักษณะนี้ส่วนใหญ่จะเป็นกลที่เหมือนกัน (เพียงแต่ย้ายตำแหน่งตามข้อ 1.) แต่ก็ยังมีอีกจำนวนที่ชื่อเดียวกันแต่เป็นกลที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิง 3. กลที่ผิด ได้แก่ รูปผิด เงื่อนไขผิด และเฉลยผิด ก็ทำให้สับสนได้ ต้องตรวจสอบกลับไป-มา 4. ต้นฉบับขาดหายหรือสลับตำแหน่ง ช่วงต้นเล่มจะหายไปราว 10 กว่ากล อาจเป็นด้วยการจัดเก็บมีปัญหา แต่ในส่วนนี้ ตรวจสอบได้จากกุญแจกล และส่วนที่กระจัดกระจาย ก็สามารถจัดและเรียงกลต่อเนื่องได้ 5. เงื่อนไขที่ไม่ชัดเจน โดยเฉพาะตอนท้าย ๆ ที่เป็นกลแผลง ต้องมีความเข้าใจในเกมและอาศัยจินตนาการมากสักหน่อย มาเริ่มดูรูปกลกัน ....
ความคิดเห็นที่ : 6
กลที่ ๑ ชื่อ เล่นเรือกลางทะเล ๑ ทีหมากดำหนี ๒ ทีหมากขาวไล่
ความคิดเห็นที่ : 7
ได้ความรู้มากเลยครับ ใครที่มีหนังสือกรุณาลงรูปให้ดูหน่อยนะครับ จะเป็นพระคุณมากเลยครับ ท่านmind_group เยี่ยมมากเลยครับ
ความคิดเห็นที่ : 8
กลที่ ๓ ชื่อ ม้าสกัดช่อง ๑ ทีหมากดำหนี ๒ ทีหมากขาวไล่
ความคิดเห็นที่ : 9
กลที่ ๕ ชื่อ .(ตับทับทรวง).... ๑ ทีหมากดำหนี ๒ ทีหมากขาวไล่
ความคิดเห็นที่ : 10
กลที่ ๗ ชื่อ ม้าแอบ ๑ ทีหมากดำหนี ๒ ทีหมากขาวไล่
ความคิดเห็นที่ : 11
กลที่ ๙ ชื่อ เป็ดกินหอย ๑ ทีหนี ๒ ทีไล่
ความคิดเห็นที่ : 12
ขอบคุณมากๆครับ ผมจะบอกให้เพื่อนๆมาชมกันเยอะๆนะครับ
ความคิดเห็นที่ : 13
ก็ขอทยอยนำขึ้นนะครับ ไม่ค่อยชำนาญเรื่องการทำรูป สำหรับกุญแจ เอาไว้ท้ายสุดนะครับ ให้ลงกลหมดก่อนค่อยว่ากัน ระหว่างที่ลงนี้ ก็อาจมีผู้กรุณาช่วยเฉลย ช่วงแรกๆ นี้คงไม่ต้องมีกุญแจเพราะง่ายมาก
ความคิดเห็นที่ : 14
กลที่ ๑๒ ๑ ทีหนี ๒ ทีไล่
ความคิดเห็นที่ : 15
กลที่ ๑๔ ชื่อ ขุนเข้าคอก ๑ ทีหนี ๒ ทีไล่
ความคิดเห็นที่ : 16
กลที่ ๑๖ ชื่อ เป็ดกินหอย ๑ ทีหนี ๒ ทีไล่
ความคิดเห็นที่ : 17
กลที่ ๑๘ ชื่อ สอยดาว ๑ ทีหนี ๒ ทีไล่
ความคิดเห็นที่ : 18
กลที่ ๒๐ ๑ ทีหนี ๒ ทีไล่
ความคิดเห็นที่ : 19
กลที่ ๒๑ ชื่อ หณุมาณยกพล ๒ ทีหนี ๓ ทีไล่
ความคิดเห็นที่ : 20
กลที่ ๒๓ ชื่อ ละลอกกระทบฝั่ง ๒ ทีหนี ๓ ทีไล่
ความคิดเห็นที่ : 21
กลที่ ๒๕ ชื่อ ปลากรายแฝงตออย่างที่ ๒ ๒ ทีหนี ๓ ทีไล่
ความคิดเห็นที่ : 22
กลที่ ๒๗ ชื่อ เขาตรีกูฏ ๒ ทีหนี ๓ ทีไล่
ความคิดเห็นที่ : 23
กลที่ ๒๙ ชื่อ โคมห้อย ๒ ทีหนี ๓ ทีไล่
ความคิดเห็นที่ : 24
กลที่ 21 น่าจะแค่ 1 ทีหนี 2 ทีไล่ นะครับ
ความคิดเห็นที่ : 25
ตอบคห. 47-48 ดู source code นะครับ ในที่นี้จะแสดงตามต้นฉบับ
ความคิดเห็นที่ : 26
กลที่ ๓๒ ชื่อ ม้ากักด่าน ๒ ทีหนี ๓ ทีไล่
ความคิดเห็นที่ : 27
กลที่ ๓๔ ชื่อ พระรามลงสรง ๒ ทีหนี ๓ ทีไล่
ความคิดเห็นที่ : 28
ไม่ได้เข้ามาหลายวัน ตามแทบไม่ทัน ขอบคุณที่ช่วยเผยแพร่นะครับ
ความคิดเห็นที่ : 29
กลที่ ๓๗ ๒ ทีหนี ๓ ทีไล่
ความคิดเห็นที่ : 30
กลที่ ๓๙ ๒ ทีหนี ๓ ทีไล่
ความคิดเห็นที่ : 31
1 เดือนแล้วจ้า... รอการ update... หิววิชาครับ ..................จากคนขาดแคลนความรู้
ความคิดเห็นที่ : 32
กลที่ ๔๒ ชื่อ ละลอกกลางสมุทอย่างที่ ๒ ๒ ทีหนี ๓ ทีไล่
ความคิดเห็นที่ : 33
กลที่ ๔๔ ชื่อ ขี่เรือข้ามฟาก ๒ ทีหนี ๓ ทีไล่
ความคิดเห็นที่ : 34
กลที่ ๔๖ ชื่อ สามเหลี่ยม ๑ ทีหนี ๒ ทีไล่
ความคิดเห็นที่ : 35
กลที่ ๔๘ ชื่อ เบญจกายลอยแพ ๒ ทีหนี ๓ ทีไล่
ความคิดเห็นที่ : 36
กลที่ ๕๐ ชื่อ พราห์มพเนจร ๒ ทีหนี ๓ ทีไล่
ความคิดเห็นที่ : 37
กลที่ ๕๑ ชื่อ เต่ากินเห็ด ๒ ทีหนี ๓ ทีไล่
ความคิดเห็นที่ : 38
กลที่ ๕๓ ๒ ทีหนี ๓ ทีไล่ ให้จนด้วยเบี้ย
ความคิดเห็นที่ : 39
กลที่ ๕๕ ๒ ทีหนี ๓ ทีไล่
ความคิดเห็นที่ : 40
กลที่ ๕๗ ๒ ทีหนี ๓ ทีไล่
ความคิดเห็นที่ : 41
กลที่ ๕๙ ชื่อ ม้ามังกร ๒ ทีหนี ๓ ทีไล่
ความคิดเห็นที่ : 42
ลงครบ 321เมื่อไร ผมจัดเก็บทันทีครับ ขอบคุณมากๆ หาต้นฉบับบไม่ได้อีกแล้วครับ
ความคิดเห็นที่ : 43
เวลาเข้ามาอ่านกระทู้นี้ทีไร ก็ทำให้ผมถามตัวเองบ่อยๆว่า ถ้านักหมากรุกชั้นเซียนในทุกๆ สมัยเขาพากันเขียนหนังสือทิ้งเอาไว้แยอะๆ ไม่แน่นะครับเราอาจได้รู้ความลับของแต้มรูปม้าเทียมมากกว่านี้ก็เป็นได้เพราะเท่าที่ทราบมาสมัยก่อนนี่ รูปม้าเทียมถือเป็นอาวุธหลักที่ใช้งานประจำน่าเสียดายจริงๆ....
ความคิดเห็นที่ : 44
กลที่ ๖๒ ชื่อ ราชสีห์กัดกันอย่างที่ ๒ ๒ ทีหนี ๓ ทีไล่
ความคิดเห็นที่ : 45
กลที่ ๖๔ ๒ ทีหนี ๓ ทีไล่....?????
ความคิดเห็นที่ : 46
กลที่ ๖๖ ๒ ทีหนี ๓ ทีไล่
ความคิดเห็นที่ : 47
กลที่ ๖๘ ชื่อ หณุมาณจองถนน ๒ ทีหนี ๓ ทีไล่
ความคิดเห็นที่ : 48
กลที่ ๗๐ ๒ ทีหนี ๓ ทีไล่ ให้จนด้วยเบี้ยคว่ำ
ความคิดเห็นที่ : 49
สวัสดี ครับ ทุกท่าน รวม ไปถึง คุณ สระพงษ์ หาญสิงห์ ขอบคุณสำหรับจดหมายฉบับนี้ ผมเป็นคนหนึ่ง ที่อาจจะ เรียกได้ว่า หลงมนต์สเน่ห์ของหมากรุกไทย ก็ว่าได้ เพราะ แทบทุกเย็น วันเรียน จะ ต้อง มา เล่น หรือ ดู รุ่นพ่อ โขกหมากรุกกัน ที่ ร้านข้าวแกงใต้ต้นมะขามเรียกได้ว่ามีที่ เดียวในจังหวัด มีประมาณ 6 กระดาน ได้เห็น ความสนุกสนาน ของ บรรดา ผู้เชี่ยวชาญ ผู้เล่นทั่วไป ผู้เริ่มต้น จนสนใจเข้า มา ทีแรกสุด สนใจ แค่มานั่งดูเค้าเล่น ไปมาบ่อยๆเข้า เข้า ชวนเล่น ตะแคงเรือให้ 2 ลำ สู้ ไม่ได้ ต่อ มา ก็ ฝึกฝน ด้วยตัวเอง จาก การ ดู ผู้เชี่วชาญหมากรุกแข่งกัน กลุ่มหมากรุก แข่ง กันที่ เถียง กัน แล้ว ผมก็ นั่งดู อย่างเดียว เพราะความที่เป็นเด็ก อยู่จึงอยู่เฉยๆ ได้รับความรู้ และ จาก คนหวังดีที่นั่นด้วยช่วยสอน แต่ก็เป็นเรื่องธรรมดา จำความได้ว่า เรื่องแรกที่ เป็นความรู้ ไว้ประกอบความคิดเห็ น คือ 1.เรื่องเบี้ยนอกเบี้ยใน 2. เมื่อโดนรุกให้คิดก่อนว่าเข้ารุกเพื่ออะไร 3. อย่าตกใจ 4.เรื่อง การ ไล่ 5.มีคนหนึ่ง สอนว่า ก่อนจะเดินแต้มทำแต่ละแต้ม ให้ คิด หน้าหลัง ก่อน 2 ครั้ง และ สอน ว่า เมื่อถูกรุก ให้หนีอย่าให้รุกได้ และอื่นๆอีก จนกระทั่งได้คู่ซ้อม อย่ ประมาณ 2-6 คน เวลาตั้งใจจะมาดู ทีไร ก็ มักจะได้ เล่น อยู่ เสมอ จนได้ฝึกฝนต่อไปอีก จนกระ ทั่ง ตอนนี้ คู่ซ้อมเก่าๆ ก็ ไม่อยากเล่นด้วยแล้ว เค้าก็จะโยนไปเล่นใหญ่ รุ่นใหญ่ที่เล่นเค้าก็จะเล่นกระดานละ 20 บาท กัน พอ เค้าไม่มี คู่ ก็จะเรียกผมมาซ้อมให้ จนกระทั่งตอนนี้ ผมได้เข้า ไทย บีจีเห็นการ แข่งขันที่เกิดขึ้น แล้ว รู้สึกต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการแข่งขัน จึงตั้งใจไว้ว่า ตอนปิดเทอม เดือน 5 ปี 51 จะเข้าแข่งขันระดับมัธยมคว้าแชมป์ให้ได้ ตอนนี้ก็ ตั้ง ใจฝึกซ้อม อยู่ตลอด เวลา แต่ ด้วยความที่ว่า เป็น เด็กบ้านนอก จะเข้ากรุงเทพทั้งที ก็ไม่ง่าย เพราะ ในเรื่อง ของ การ แข่ง ที่ ต้องกิน เวลา น่าจะหลาย วัน (รึเปล่า) ผมจึงใคร่ขอความกรุณา จาก ท่าน ผู้ อ่าน ทุก ท่าน ช่วยแนะนำ หรือ บอกข้อมูล เรื่องการแข่ง รางวัล ที่พัก ที่อยู่ และอื่นๆ อีกที่เกี่ยวข้อง ถ้าท่านเมตตาผม ด้วยเถิด ขอบคุณมากๆครับ เด็กบ้านนอก
ความคิดเห็นที่ : 50
กลหมากรุกฉบับหอสมุดแห่งชาติ ดูทั้งหมดได้ที่ http://wnai7.bloggang.com เข้าไปที่หน้า กลหมากรุกฉบับหอสมุดแห่งชาติ http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=wnai7&group=5 คลิกอ่านเรียงตามลำดับที่ all blogs ด้านซ้ายมือ
ความคิดเห็นที่ : 51
ถึงกลที่ 100 แล้ว !!!!! คำตอบสุดท้ายคือ 6 ปี
ความคิดเห็นที่ : 52
ชวนผู้สนใจไปดูกันนะครับ ดีมากๆมีรูปแบบการเข้าทำร้ายปลายกระดาน(หมากกล)เพียบเลย เอาไว้เพิ่มทักษะการมองตำแหน่งหมากได้ดีทีเดียวครับ ขอบคุณที่นำสิ่งที่มีคุณค่ามาเผยแพร่นะครับ รอให้ครบ 321 กลครับ http://wnai7.bloggang.com/
ความคิดเห็นที่ : 53
ลองเปิด hotmail ดูยังใช้ได้เหมือนเดิม ติดต่อมานะครับ mind_group@hotmail.com