รายละเอียด
หลังจากขาวเดิน 1.c4 c5 2.b3 Nf6 3.Bb2 g6 หมากขาวควรเดิน 4.Bxf6 หรือไม่?
ความคิดเห็นที่ : 1
ตำแหน่งหมากรูปนี้มาจากเกม Karpov Browne, San Antonio 1972 หมากขาวเดินแต้มที่ทำให้หมากดำประหลาดใจโดย 4.Bxf6! เหตุใดผู้เล่นระดับโลกอย่าง Karpov ถึงยอมแลกบิชอพที่ดีตัวนี้กับม้าหมากดำที่เพิ่งขึ้นมาจาก g8 แน่นอนว่าวัตถุประสงค์ของหมากขาวมิใช่เพื่อสร้างเบี้ยซ้อนที่ตา f6 แรงจูงใจของการกินแลกครั้งนี้ คือ หมากขาวต้องการควบคุมตา d5 โดยดึงเบี้ย e7 ไปที่ f6 เบี้ยซ้อนของหมากดำไม่ใช่จุดอ่อน เพียงแค่ ขาดความยืดหยุ่นเท่านั้น ซึ่งหากหมากดำยังไม่เดินเบี้ย c7-c5 หมากขาวคงไม่คิดแลกหมากในลักษณะเช่นนี้แน่ ต่อจากนี้ หมากขาวเปลี่ยนโครงสร้างเบี้ยของหมากดำ ทำให้หมากดำไม่สามารถป้องกันตา d5 ด้วยเบี้ยได้ กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ Karpov สร้างอสมมาตร ให้ตนเอง ในกรณีนี้ คือ 1. การเล่นระหว่าง ม้าและบิชอพ 2. โครงสร้างเบี้ยที่เป็นต่อ และ 3. สร้างบ่อที่ตา d5 หลังจากนี้ Karpov จะขึ้นหมากและใช้ประโยชน์จากปัจจัยอสมมาตรเหล่านี้ในการสร้างแผนการเดินขั้นต่อไป เราลองมาดูว่าเกมดำเนินต่อไปอย่างไร 4 exf6 5.Nc3 (มิเช่นนั้น หมากดำจะเดิน d7-d5) 5 Bg7 6.g3 Nc6 7.Bg2 (หมากขาวนำตัวหมากมาควบคุม d5 อีกตัวหนึ่ง) สังเกตว่าม้า บิชอพ และเบี้ยของหมากขาว ประสานงานกันเพื่อควบคุม d5 เกมดำเนินต่อ โดย 7 f5 8.e3 หมากขาวหลีกเลี่ยง 8.Nf3 เพราะไม่มีส่วนช่วยในแผนการเดินขณะนี้ 8 O-O 9.Ng2 หมากขาวควบคุมตา d5 โดยสมบูรณ์ สังเกตว่าหากจำเป็นหมากขาวยังสามารถเดิน Ng2-f4 เพื่อย้ำตำแหน่ง d5 เพิ่มเติม สรุปแนวคิดในตำแหน่งนี้ - ยังไม่มีอสมมาตรใดๆ ที่ชัดเจนเกิดขึ้น - หน้าที่ของหมากขาว คือ สร้างอสมมาตร ที่เอื้ออำนวยประโยชน์ให้ฝ่ายตน - การแลกหมากระหว่าง บิชอพ กับ ม้า ที่ตา f6 เป็นการสร้างอสมมาตรระหว่าง ม้าและบิชอพ และที่สำคัญ คือ สร้างจุดอ่อนที่ตา d5 - เมื่อบ่อที่ตา d5 เกิดขึ้น การขึ้นหมากต่อไปของหมากขาวจะเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการควบคุมตา d5 และขยายผลใช้ประโยชน์ในตาต่อๆ ไป
ความคิดเห็นที่ : 2
หมากดำเพิ่งเดิน f7-f5 และหมากขาวกินเบี้ย exf5 ขณะนี้หมากดำต้องการกินเบี้ยกลับ และกำลังพิจารณา 1 Rxf5 , 1 Bxf5 , และ 1 gxf5 หมากดำกินเบี้ยอย่างไรจึงเหมาะสมที่สุด
ความคิดเห็นที่ : 3
คุณ v สู้ๆ โพสต่อจิๆ